 สถิติของเวบไซต์
 หมวดหมู่สินค้า/บริการ
 จดหมายข่าว


|
|
โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระบบผสมผสาน [No. 0] คู่มือขอรับการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งระบบ
ผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
โครงการส่งเสริมการใช้น้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์
ด้วยระบบผสมผสาน
1. ความเป็นมาของโครงการ
ปัจจุบันมีกิจกรรมหลายประเภทที่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน เช่น โรงพยาบาล โรงแรม ร้านอาหาร ร้านเสริมสวย เป็นต้น สำหรับการผลิตน้ำร้อนได้มีการใช้พลังงานหลายรูปแบบ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีการต้มโดยใช้พลังงานจากก๊าซและไฟฟ้า หรือหากเป็นกิจกรรมขนาดใหญ่จะใช้หม้อต้ม ( Boiler) ที่ใช้น้ำมันเตา หรือน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
การใช้พลังงานไฟฟ้าในการผลิตน้ำร้อน ถือว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะสมกับคุณค่าของพลังงานไฟฟ้าทางเลือกหนึ่งของการผลิตน้ำร้อน คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนเหลือทิ้ง (waste-heat) เช่น ความร้อนทิ้งจากชุดระบายอากาศของเครื่องปรับอากาศ
สำหรับกิจการโรงแรม โรงพยาบาลหรืออาคารธุรกิจหรือโรงงานบางแห่งนั้นสามารถใช้ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ แบบผสมผสานกับระบบผลิตน้ำร้อนจากความร้อนเหลือทิ้ง เพราะกิจการเหล่านี้ล้วนมีการใช้ระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็น เตาเผา หม้อไอน้ำ ที่มีความร้อนเหลือทิ้งอยู่มาก การใช้พลังงานผสมผสานดังกล่าว สามารถลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงหรือพลังงานไฟฟ้า และสิ่งที่สำคัญ คือ เป็นการใช้พลังงานธรรมชาติและพลังงานเหลือทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตน้ำร้อนในกิจการธุรกิจภาคต่างๆ
2) เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใช้ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์อย่างแพร่หลาย
3. รูปแบบโครงการ
ให้การสนับสนุนเงินลงทุน แก่ผู้ประกอบการที่มีความสนใจลงทุนติดตั้งระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ระบบผสมผสาน ตลอดจนให้การสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้และการออกแบบเบื้องต้น แก่สถานประกอบการ โดยสถานประกอบการต้องมีหนังสือยืนยันการเข้าร่วมโครงการฯ จากผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงนาม
4. ระยะเวลาโครงการ
ผู้สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ จนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2552 หรือจนกว่าเงินสนับสนุนจะหมด (ผู้สนใจที่ยื่นใบสมัครไม่ทันกำหนด สามารถยื่นใบสมัครต่อได้ โดยจะนำใบสมัครมาพิจารณาในโครงการในปีต่อไป)
5. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุนการลงทุน *
5.1 คุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุน
1. เป็นกิจการ โรงแรม โรงพยาบาลหรืออาคารธุรกิจหรือโรงงานที่ใช้น้ำร้อนในการผลิตหรือการให้บริการและมีความประสงค์จะใช้ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน
2. มีความพร้อมในการลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงานโดยรวม และต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงซึ่งเป็นผู้มีอำนาจลงนาม ในการยืนยันเข้าร่วมโครงการ
3. เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายไทย
5.2 หลักเกณฑ์การสนับสนุนลงทุน
1. ให้การสนับสนุนลงทุนในระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน ซึ่งหมายถึงการผลิตน้ำร้อนโดยใช้ตัวรับรังสีอาทิตย์ (solar collector) ร่วมกับแหล่งความร้อนเหลือทิ้งต่างๆ เช่น ความร้อนเหลือทิ้งจากชุดระบายความร้อน (Condensing Unit) เช่น เครื่องปรับอากาศแบบอัดไอ ตู้แช่ ความร้อนเหลือทิ้งจากปล่องไอเสียของหม้อไอน้ำ (boiler) ความร้อนเหลือทิ้งจากท่อไอเสียเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ความร้อนทิ้งจากเครื่องอัดอากาศ และ/หรือความร้อนเหลือทิ้งอื่นๆ ที่สามารถใช้ในการผลิตน้ำร้อนได้
2. ให้เงินสนับสนุนการลงทุนเฉพาะในส่วนของระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งไม่รวมในส่วนของระบบการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่
3. ให้เงินสนับสนุนการลงทุนระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ ดังนี้
4,500 บาทต่อตารางเมตรของตัวรับรังสีแสงอาทิตย์ (กรณีตัวรับรังสีแบบแผ่นเรียบคิดที่ พื้นที่ช่องรับแสง-Aperture Area กรณีตัวรับรังสีแบบสุญญากาศ คิดที่พื้นที่รวมสุทธิ-Gross Area)สำหรับอุปกรณ์ที่มีค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยที่ตัวรับรังสีผลิตได้ในรอบปีมีค่าตั้งแต่ 800 kWh/m2.ปี ขึ้นไป
3,000 บาทต่อตารางเมตรของตัวรับรังสีแสงอาทิตย์ (กรณีตัวรับรังสีแบบแผ่นเรียบคิดที่ พื้นที่ช่องรับแสง-Aperture Area กรณีตัวรับรังสีแบบสุญญากาศ คิดที่พื้นที่รวมสุทธิ-Gross Area) สำหรับอุปกรณ์ที่มีค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยที่ตัวรับรังสีผลิตได้ในรอบปีมีค่าต่ำกว่า 800 แต่ไม่ต่ำกว่า 500 kWh/m2.ปี
ค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยของตัวรับรังสีที่ผลิตได้ในรอบปี อ้างอิงภายใต้สภาวะเงื่อนไข ในหมายเหตุด้านล่าง
4. ให้การสนับสนุนการลงทุนระบบผลิตน้ำร้อนแสงอาทิตย์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 40 ตารางเมตรของพื้นที่รับแสง และขั้นสูงไม่เกิน 500 ตารางเมตรของพื้นที่รับแสง หรือไม่เกิน 2,250,000 บาท ต่อแห่ง
5. ระบบทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานที่ได้ติดตั้งอุปกรณ์ไปแล้ว ไม่สามารถขอรับเงินสนับสนุนจากโครงการนี้ได้ ซึ่งโครงการที่ให้การสนับสนุนเป็นได้ทั้งโครงการใหม่และโครงการปรับปรุงเปลี่ยนตัวรับรังสีแสงอาทิตย์ใหม่ หรือการเพิ่มขนาดหรือกำลังผลิต โดยมีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 5 ปี
6. วัสดุอุปกรณ์ประกอบที่ใช้ในระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน ได้แก่ ท่อน้ำร้อนและท่อน้ำเย็น, ข้อต่อและวาล์วประเภทต่างๆ, ฉนวนกันความร้อน และปั๊มน้ำ ต้องได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือมาตรฐานสากล
7. ท่อน้ำร้อนที่ใช้ในระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสานต้องเป็นท่อทองแดง
8. กระจกตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบแผ่นเรียบต้องเป็นชนิด Tempered Glass และกระจกตัวเก็บรังสีอาทิตย์แบบสุญญากาศต้องเป็นชนิด Borosilicate
5.3 เงื่อนไขในการดำเนินงาน
1. ผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติการสนับสนุนจาก พพ. แล้ว จะต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ พพ.แจ้งผลการพิจารณาให้การสนับสนุน
2. เอกสารประกอบการขอรับการสนับสนุน ประกอบด้วย
2.1 แบบขอรับการสนับสนุน ฯ
2.2 ผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นและแบบเบื้องต้น
2.3 เอกสารด้านเทคนิคประกอบการพิจารณา เช่น คุณสมบัติเฉพาะ (Specifications) อายุการใช้งาน ใบรับรองมาตรฐาน ผลทดสอบสมรรถนะ จากสถาบันทดสอบที่เชื่อถือได้ ตามมาตรฐาน ASHRAE 93 หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เทียบเท่า การหุ้มฉนวนในระบบท่อส่งน้ำร้อน และรายการคำนวณการประหยัดพลังงานระยะเวลาคืนทุนและแบบแสดงการติดตั้งถ้าจำเป็น
2.4 ภาพถ่ายจุดอ้างอิงที่ถาวรแสดงอยู่บนรูปเพื่อเปรียบเทียบกับรูปถ่ายหลังจากการติดตั้งแล้ว
2.5 แผนการดำเนินการติดตั้งและแผนการบำรุงรักษา
2.6 เอกสารการรับประกันการใช้งานระบบ อย่างน้อย 1 ปี และตัวรับรังสีแสงอาทิตย์ อย่างน้อย 5 ปี
2.7 หนังสือรับรองความปลอดภัยในการออกแบบและติดตั้ง
2.8 รายละเอียดแสดงการติดตั้ง อุปกรณ์วัดพลังงานที่ผลิตได้ของระบบ เช่น อุปกรณ์วัดการไหลของน้ำเข้าระบบผลิต และการติดตั้งอุปกรณ์วัดอุณหภูมิน้ำร้อนของระบบฯเป็นต้น พร้อมทั้งจัดส่งรายงานสรุปผลการดำเนินการติดตั้งและทดสอบ
3. พพ. จะพิจารณาใบสมัครของผู้ที่ยื่นใบสมัครตามลำดับก่อนหลัง ซึ่งจะดูจากความถูกต้องสมบูรณ์ของใบสมัคร และเอกสารประกอบ
4. การพิจารณาให้การสนับสนุนของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด ผู้ขอรับการสนับสนุนไม่อาจเรียกร้องใดๆ ได้
5. ผู้ขอรับการสนับสนุนในโครงการนี้ จะขอรับการสนับสนุนซ้ำซ้อนกับโครงการสนับสนุนอื่นๆ ของ พพ. ไม่ได้ ยกเว้นโครงการเงินหมุนเวียนเพื่อการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
หมายเหตุ:
1. ระบบผลิตน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย ระบบที่ผลิตน้ำร้อนด้วยตัวรับรังสีอาทิตย์(solar collector) ชนิดต่างๆ ได้แก่ ตัวรับรังสีแบบแผ่นเรียบ (flat plate collector) หรือ ตัวรับรังสีแบบหลอดสูญญากาศ (evacuated tube collector) ถังกักเก็บน้ำร้อนและระบบท่อส่งน้ำร้อน (จากตัวรับแสงอาทิตย์ไปยังถังเก็บน้ำร้อน) และระบบควบคุม
2. สภาวะเงื่อนไข เพื่อการประเมินค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยของตัวรับรังสีที่ผลิตได้ในรอบปี
- อุณหภูมิอากาศแวดล้อม (Ta) 35 °C
- อุณหภูมิของไหลที่ไหลเข้าตัวรับรังสีแสงอาทิตย์ (Ti) 30 °C
- อุณหภูมิของไหลที่ไหลออกจากตัวรับรังสีแสงอาทิตย์ (To) 60 °C
- ค่าความเข้มแสงอาทิตย์ที่ 800 W/m2
- ค่าพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยรายปีของประเทศไทย 1,800 kWh/m2
.
สนใจติดต่อ Benerfit media บริษัมผู้ติดตั้ง
02-9859251,081-8996766 |
By : benerfit media  (อ่าน 12373 | ตอบ 23) (20/07/2552 13:38:36) ความคิดเห็นที่ 1 By : 20170307huazhen  (07/03/2560 10:39:21) ความคิดเห็นที่ 2 By : fatihin nurul  (18/07/2560 12:52:42)
|
|
 สินค้า/บริการ แนะนํา
ปกติ 18,000.00 บ. พิเศษ 17,100.00 บ. |
ปกติ 145,000.00 บ. พิเศษ 137,750.00 บ. |
ปกติ 3,600.00 บ. พิเศษ 2,520.00 บ. |
ปกติ 1,750.00 บ. พิเศษ 1,627.50 บ. |
ปกติ 45,000.00 บ. พิเศษ 43,650.00 บ. |
|
|